เพลงสรรเสริญสถาบัน

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

วีรกรรมของชาวบ้านบางระจัน

วีรกรรมของชาวบ้านบางระจัน 
  
 เหตุการณ์และบทบาทของชาวบ้านบางระจัน เกิดขึ้นเมื่อพม่ายกทัพทั้งทัพบกและทัพเรือมาตี 
กรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2306 ในระหว่างนั้น หัวเมืองทั้งใต้และเหนือของไทยเสียแก่พม่าไปหลายเมือง 
คนไทยที่ได้รับความเดือนร้อนต้องพาครอบครัวหลบหนีเข้าป่าไปเป็นจำนวนมาก ในขณะนั้น มีคนไทย
กลุ่มหนึ่งคิดต่อสู้กับพม่า บอกข่าวชักชวนชาวบ้าน นัดแนะทำกลลวงพม่าแล้วฆ่าพม่าไปจำนวนไม่น้อย
 จากนั้นกลุ่มคนไทยดังกล่าวได้พากันหลบหนีพม่าไปหาพระอาจารย์ธรรมโชติ ที่วัดเขาเดิมบาง 
นางบวช พระอาจารย์ผู้นี้มีวิชาอาคมเป็นที่ยกย่องนับถือของชาวบ้าน กลุ่มคนไทยจึงได้นิมนต์ให้ไปอยู่ 
ที่วัดโพธิ์เก้าต้น ในขณะนั้นมีราษฎรชาวเมืองวิเศษไชยชาญ ชาวเมืองสิงห์และเมืองสรรค์ พากัันหลบหนี 
พม่ามาชุมนุมกันในหมู่บ้านบางระจันกันมากมาย ด้วยหมู่บ้านแห่งนี้มีชัยภูมิที่ดีี่ยากที่พม่าจะยกทัพเข้ามาตี
ทั้งยังมีเสบียงอาหารอุดมสมบูรณ์ หัวหน้ากลุ่มคนไทยพากันหลบหนีมาชุมนุมกันที่นี้ โดยมีพรรคพวกที่
เป็นชาวบ้านติดตามมาอยู่ด้วย ชาวบ้านบางระจันได้ร่วมมือกันสร้างค่ายขึ้นล้อมรอบหมู่บ้าน จัดกำลังคน 
เป็นหมวดหมู่ทำหน้าที่รักษาค่าย เตรียมหาอาวุธไว้ต่อสู้กับศัตรู วางกองสอดแนมคอยสืบข่าวความ
เคลื่อนไหวของฝ่ายพม่า 

ย่าโม


ท้าวสุรนารี มีนามเดิมว่า "โม" (แปลว่า ใหญ่มาก)หรือ ท้าวมะโหโรง เป็นชาวเมืองนครราชสีมาโดยกำเนิด เกิดเมื่อปีระกา พ.ศ. 2214 สมัยกรุงเทพ มีนิวาสถานอยู่ ณ บ้านตรงกันข้ามกับวัดพระนารายณ์มหาราช (วัดกลางนคร) ทางทิศใต้ของเมืองนครราชสีมาเป็นธิดาของนายกิ่มและนางบุญมา มีพี่สาวหนึ่งคนชื่อ แป้นาผล ไม่มีสามี จึงอยู่ด้วยกันจนวายชนม์ มีน้องชายหนึ่งคน ชื่อ จุก(ภายหลังได้เป็น เจ้าเมืองพนมซร๊อก ต่อมามีการอพยพชาวเมืองพนมซร๊อก มาอยู่ ริมคูเมืองนครราชสีมาด้านใต้ จึงเอาชื่อเมือง พนมซร๊อก มาตั้งชื่อ บ้านพนมศรก ต่อมาเรียกเพี้ยนเป็น บ้านสก อยู่หลังสถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ จนทุกวันนี้)
เมื่อปี พ.ศ. 2339 โม เมื่ออายุได้ 35 ปี ได้แต่งงานสมรสกับนายทองคำขาว พนักงานกรมการเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมานายทองคำขาว ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "พระภักดีสุริยเดช" ตำแหน่งรองปลัดเมืองนครราชสีมา นางโม จึงได้เป็น คุณนายโม และต่อมา "พระภักดีสุริยเดช" ได้เลื่อนเป็น "พระยาสุริยเดช" ตำแหน่งปลัดเมืองนครราชสีมา คุณนายโมจึงได้เป็น คุณหญิงโม  ชาวเมืองนครราชสีมาเรียกท่านทั้งสองเป็นสามัญว่า "คุณหญิงโม" และ "พระยาปลัดทองคำ" ท่านเป็นหมันไม่มีทายาทสืบสายโลหิต ชาวเมืองนครราชสีมาทั้งหลายจึงพากันเรียกแทนตัวคุณหญิงโมว่า แม่ มีผู้มาฝากตัวเป็นลูก-หลานกับคุณหญิงโมอยู่มาก ซึ่งเป็นกำลัง และอำนาจส่งเสริมคุณหญิงโมให้ทำการ ใดๆ ได้สำเร็จเสมอ หนึ่งในลูกหลานคนสำคัญ ที่มีส่วนร่วมกับคุณหญิงโม เข้ากอบกู้เมืองนครราชสีมาจากกองทัพเจ้าอนุวงศ์ เวียงจันทน์ ณ ทุ่งสัมฤทธิ์ คือ นางสาวบุญเหลือ
ท้าวสุรนารี เป็นคนมีสติปัญญาหลักแหลม เล่นหมากรุกเก่ง มีความชำนาญในการขี่ช้าง ขี่ม้า มีม้าตัวโปรดสีดำ และมักจะพาลูกหลาน ไปทำบุญที่วัดสระแก้วเป็นประจำเสมอท้าวสุรนารี ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อเดือน เมษายน พ.ศ. 2395 (เดือน 5 ปีชวด จัตวาศก จศ. 1214) สิริรวมอายุได้ 133 ปี

วีรกรรมของท้าวสุรนารี และบำเหน็จความชอบ

วีรกรรมของคุณหญิงโมนั้นเป็นที่คนไทยรุ่นหลังทราบดีว่า เมื่อพุทธศักราช 2369 เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ เป็นกบฏต่อกรุงเทพมหานคร ยกกองทัพเข้ามายึดเมืองนครราชสีมาได้ แล้วกวาดต้อนครอบครัวชาวนครราชสีมาไป คุณหญิงโม และนางสาวบุญเหลือ ได้รวบรวมครอบครัวชาย หญิงชาวนครราชสีมาที่ถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลย เข้าต่อสู้ฆ่าฟันทหารลาวล้มตายเป็นอันมาก ณ ทุ่งสัมฤทธิ์ แขวงเมืองนครราชสีมา เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พุทธศักราช 2369 ช่วยให้ฝ่ายไทยสามารถกอบกู้เมืองนครราชสีมากลับคืนมาได้ในที่สุด
เมื่อความทราบไปถึง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาคุณหญิงโม ขึ้นเป็นท้าวสุรนารี เมื่อ วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2370 เมื่อคุณหญิงโมมีอายุได้ 57 ปี พร้อมกับพระราชทานพระราชทานเครื่องยศ มีต่อไปนี้[ต้องการอ้างอิง]
  • ถาดทองคำใส่เครื่องเชี่ยนหมาก 1 ใบ
  • จอกหมากทองคำ 1 คู่
  • ตลับทองคำ 3 ใบเถา
  • เต้าปูนทองคำ 1 ใบ
  • คนโท และขันน้ำทองคำอย่างละ 1 ใบ
ในปี พ.ศ. 2524 คือเมื่อวันที่ 5 เมษายน เวลา 14.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงวางพวงมาลา ณ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ท่ามกลางพสกนิกร ที่เข้าเฝ้าถวายความจงรักภักดีอย่างเนื่องแน่น ในโอกาสนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานบรมราโชวาทมีความตอนหนึ่งว่า
Cquote1.svg
....ท้าวสุรนารี เป็นผู้ที่เสียสละเพื่อให้ประเทศชาติได้อยู่รอดปลอดภัย
ควรที่อนุชนรุ่นหลัง จะได้ระลึกถึงคุณงามความดีของท่าน
บ้านเมืองทุกวันนี้เป็นสิ่งที่ต้องหวงแหน การหวงแหน คือ ต้องสามัคคี
รู้จักหน้าที่ ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน ชาวนครราชสีมาได้แสดงพลังต้องการ
ความเรียบร้อย ความสงบ เป็นปัจจัยสำคัญทำให้ชาติกลับปลอดภัยอีกครั้งหนึ่ง
แม้ว่าสถานการณ์รอบตัวเราและรอบโลก จะผันผวนและ ล่อแหลมมาก
แต่ถ้าทุกคนเข้มแข็ง สามัคคี กล้าหาญ และเอื้อเฟื้อต่อกันชาติก็จะมั่นคง....
Cquote2.svg
— พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ที่มา : wikipidia

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

เรือหลวงธนบุรี


เรือหลวงธนบุรี เป็นเรือรบประเภทเรือปืนหนักและเรือปืนยามฝั่งสังกัดกองทัพเรือไทย จัดอยู่ในประเภทเดียวกันและชั้นเดียวกันกับเรือหลวงศรีอยุธยา ต่อขึ้นที่อู่ต่อเรือกาวาซากิ เมืองโกเบประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2479 เป็นขุมกำลังสำคัญของกองทัพเรือไทยในช่วงกรณีพิพาทระหว่างไทย - อินโดจีนฝรั่งเศส โดยเรือหลวงธนบุรีได้เข้าทำการรบอย่างกล้าหาญในยุทธนาวีเกาะช้างเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2484 จนสามารถขับไล่ข้าศึกได้สำเร็จ แต่เรือได้รับความเสียหายอย่างหนักมาก เรือหลวงช้างจึงลากจูงให้มาเกยตื้นในเย็นวันเดียวกันที่แหลมงอบ จังหวัดตราด
ภายหลังเมื่อมีการกู้เรือหลวงธนบุรีแล้ว กองทัพเรือได้ลากจูงเรือมาทำการซ่อมใหญ่ในวันที่26 กันยายน พ.ศ. 2484 แต่เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าเสียหายหนักเกินกว่าจะซ่อมแซมได้ จึงปลดระวางประจำการจากการเป็นเรือรบ และใช้เป็นกองบังคับการลอยน้ำของกองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ จนปลดระวางประจำการเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2502 ทางราชการจึงได้นำส่วนป้อมปืนเรือและหอบังคับการของเรือหลวงธนบุรีมาจัดตั้งเป็นอนุสรณ์สถานเรือหลวงธนบุรี เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ยุทธนาวีเกาะช้าง ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ภายในโรงเรียนนายเรือ จังหวัดสมุทรปราการ
ชื่อของเรือหลวงธนบุรีได้มาจากนาม "กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร" อันเป็นนามของราชธานีไทยในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (พ.ศ. 2310 - 2325)

credit : th.wikipidia.org/wiki/เรือหลวงธนบุรี

ภาพเล็กๆน้อยๆ

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

ทบ.ยกย่อง จ่าสิบเอก วสันต์ ทันนิธิ ที่เสียชีวิตระหว่างปฎิบัติหน้าที่ช่วยเหลือน้ำท่วม จากเหตุ

ทบ.ยกย่อง จ่าสิบเอก วสันต์ ทันนิธิ ที่เสียชีวิตระหว่างปฎิบัติหน้าที่ช่วยเหลือน้ำท่วม จากเหตุ

เรือขนกระสอบทรายล่มที่จ.นครสวรรค์ เป็นตัวอย่างทหารที่ทุ่มเททำงานเพื่อประชาชน
ตามที่ได้เกิดอุทกภัยขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศและหน่วยทหารของกองทัพบกในพื้นที่ที่เกิดอุทกภัย ได้เข้าช่วยเหลือ
ประชาชนอย่างทันทีและต่อเนื่องรวมถึงการสนับสนุนส่วนราชการต่างๆในการบรรเทาทุกข์ให้กับประชาชนที่เดือดร้อนนั้น
สำหรับอุทกภัยที่เกิดขึ้นในจังหวัดนครสวรรค์ ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ ๘ อำเภอ ได้แก่ อ.ชุมแสง ,อ.โกรกพระ ,
อ.เมืองนครสวรรค์ ,อ.พยุหะคีรี ,อ.เก้าเลี้ยว ,อ.ท่าตะโก ,อ.หนองบัว และอ.ตาคลี ซึ่ง กองทัพบก โดย มณฑลทหารบกที่ ๓๑
ได้ส่งกำลังทหารพร้อมยุทโธปกรณ์ ยานพาหนะ เข้าให้การช่วยเหลือประชาชนโดยทันทีและต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม
จนถึงปัจจุบัน ด้วยการ ช่วยขนย้ายคน -สิ่งของไปยังที่ปลอดภัย แจกจ่ายถุงยังชีพ ช่วยเกษตรกรเคลื่อนย้ายพันธุ์ปลาจากบ่อ
เลี้ยงไปไว้ตามกระชังปลา โดยเฉพาะการช่วยบรรจุกระสอบทรายเพื่อนำไปทำพนังกั้นน้ำในพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำ เพื่อป้องกันน้ำ
ล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน ที่ต้องเร่งดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๔ ได้เกิดอุบัติเหตุเรือของมณฑลทหารบกที่ ๓๑ พลิกคว่ำกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ขณะกำลัง
ขนย้ายกระสอบทราย เพื่อนำ ไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ บ.เกาะยวน หมู่ที่ ๕ ต.ปากน้ำ โพ อ.เมือง
จ.ครสวรรค์ เป็นเหตุให้ จ่าสิบเอก วสันต์ ทันนิธิ สังกัด กองพันทหารช่างที่ ๔ ซึ่งกำลังปฏิบัติหน้าที่ลำเลียงกระสอบทรายเพื่อ
ไปทำพนังกั้นน้ำป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่ดังกล่าว จมน้ำสูญหาย ต่อมาพบว่าเสียชีวิตห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณ ๒๐๐ เมตร
โดยขณะนี้ หน่วยต้นสังกัดได้เคลื่อนย้ายศพเพื่อนำ ไปบำ เพ็ญกุศล สวดพระอภิธรรมที่ วัดนครสวรรค์ อ.เมือง
จ.นครสวรรค์ ระหว่างวันที่ ๑๑-๑๒ กันยายน ๒๕๕๔ และกำหนดฌาปนกิจศพในวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๔ เวลา ๑๖๐๐ น
การเสียชีวิตของ จ่าสิบเอก วสันต์ ทันนิธิ ในครั้งนี้นับเป็นการสูญเสียบุคลากรที่มีคุณค่ายิ่งของกองทัพบก ผู้ซึ่งมีความกล้าหาญ
เสียสละ มุ่งมั่นตั้งใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือร้อนของประชาชนจากอุทกภัย เป็น
แบบอย่างที่ดีงามของทหารที่ทุ่มเทปฏิบัติงานอย่างเต็มกำ ลังความสามารถเพื่อความผาสุขของประชาชนอย่าง
แท้จริง กองทัพบกมีความภาคภูมิใจในเกียรติและความเสียสละที่กำลังพลท่านนี้ได้แสดงให้เป็นที่ประจักษ์ถึงการเป็นทหารของ
ชาติที่พร้อมช่วยเหลือประชาชนในทุกสถานการณ์
อย่างไรก็ตาม กองทัพบกขอแสดงความเสียใจ กับครอบครัวของ จ่าสิบเอก วสันต์ ทันนิธิ ที่ได้สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ทั้งนี้
จ่าสิบเอก วสันต์ ทันนิธิ จะได้รับการปูนบำเหน็จ ๓ ขั้น และได้รับพระราชทานยศสูงขึ้น โดยได้เลื่อนยศเป็น “ พันตรี ” พร้อม
กันนี้ กองทัพบกได้ดูแลด้านสิทธิกำลังพล มอบเงินช่วยเหลือตามสิทธิของทางราชการและการช่วยเหลือพิเศษอื่นๆเพิ่มเติม
ให้แก่ครอบครัวของจ่าสิบเอกวสันต์ ทันนิธิ อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ได้มอบเงินช่วยเหลือให้กับ
ครอบครัวจ่าสิบเอก วสันต์ ทันนิธิ จำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท
..........................................................................................................
๑๑ กันยายน ๕๔